ข้อแนะนำในการทำโครงงานเบื้องต้น

แนะนำในการทำโครงงานเบื้องต้น
��������� การทำโครงงาน ต้องอาศัยการทำงานอย่างมีระบบและมีขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ มีหลักการ มีเหตุผล และมีคำอธิบายที่อยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาไม่ใช่เลื่อนลอยและเพียงเข้าใจว่า..เท่านั้น การจะมีเลือกเรื่องราวหรือปัญหามาทำโครงงานนั้น ไม่ใช่ว่าจะทำเรื่องใดๆ ก็ได้เหมือนกัน เพราะคุณค่าของปัญหาที่คิดทำนั้นไม่เท่ากัน สิ่งแรกสุดที่เราต้องคำนึงคือว่า ปัญหาที่เราจะศึกษา ทำโครงงานนั้นเป็นที่น่าสนใจหรือไม่ ต้องสนใจของตัวเรา และของผู้คนอื่นๆ ด้วยและที่ควรคำนึกถึงเป็นพิเศษคือเรื่องนั้น ๆ ให้คุณค่าและสาระ หรือมีประโยชน์เพียงใด ดังนั้นก่อนที่จะเลือกปัญหามาทำโครงงาน ต้องคำนึงถึงปัจจัยนี้เป็นสำคัญ ไม่เช่นนั้น การที่เราลงทุนลงแรงเสียเวลา ไปนั้น อาจจะให้ผลไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับจากการทำโครงงาน เพราะเอาไปใช้ประโยชน์ใด ๆ ไม่ได้มากนัก เว้นแต่จะทำโครงงานเพื่อเป็นแบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้แบบเด็ก ๆ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ก็ยังดีกว่าไม่ลงมือคือทำเสียเลย
ประเภทของโครงงาน
1. โครงการประเภททฤษฎี (ต้องอาศัยความรู้ที่ลึกซึ้งไม่เหมาะกับนักเรียนระดับมัธยม จึงไม่ขอแนะนำในที่นี้)
2. โครงการประเภทสำรวจ เป็นการหาข้อมูลที่มีอยู่แล้วในชีวิตจริง ๆ แต่เป็นข้อมูลที่กระจัดกระจาย และไม่ทราบรายละเอียดของข้อมูลนั้น ผู้ทำโครงงานต้องศึกษา จัดกระทำข้อมูลนั้น ๆ ตามวัตถุประสงค์ เพื่อจะตอบคำถามเรื่องใดเรื่องหนึ่งของการสำรวจนั้น ๆ ให้ชัดเจน ตัวอย่างที่ 1 ในป่าแห่งหนึ่ง มีพืชสมุนไพรต่าง ๆ นับร้อยชนิด ผู้สำรวจต้องทำการจัดกระทำให้ได้ว่าที่พืชสมุนไพรชนิดใด อยู่ในปริมาณ อย่างไร อาจแบ่งเป็นพวก ๆ หรืออาจจะแบ่งตามลักษณะท้องที่ ถ้าจะให้ละเอียดออกไปอีก อาจจะสำรวจเพื่อให้ได้ว่า พืชสมุนไพรที่ พบชนิดหนึ่ง ๆ อยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไรเป็นต้น ตัวอย่างที่ 2 ในตลาดสดแห่งหนึ่ง มีอาหารขายมากชนิด เราอาจจะสำรวจหาสารพิษอะไรสักอย่าง สองอย่าง ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารนั้น ๆ ซึ่งต้องตอบคำถามให้ได้ว่า อาหารพวกใดมีสารเคมีอะไร ในปริมาณเท่าไร ซึ่งในกระบวนการต้องมีการตรวจและทดสอบทาง วิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ แล้วแสดงเป็นข้อมูลทางสถิติอย่างเหมาะสม
3. โครงงานประเภททดลอง เป็นการทำโครงงานที่ต้องอาศัยการทดลองเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ทราบผลว่า ตัวแปรที่เราศึกษา หนึ่ง ๆ นั้นมีผลต่อตัวแปรที่หนึ่งหรือไม่ อย่างไร ตัวอย่างง่าย ๆ ต้องการทราบว่า ต้องเก็บมะนาวให้นานที่สุดจะทำอย่างไรได้บ้าง เราก็หาตัวแปรต่าง ๆ แล้วทำการทดลองว่า ถ้าเราทำอย่างนี้ 1,2,3… จะส่งผลให้มะนาวสดอยู่ได้กี่วัน โดยเปรียบเทียบกับมะนาวปกติ ที่ไม่ได้ ทำอะไร เขาเรียกว่าตัวควบคุม ทำนองนั้น
4. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานประเภทที่สร้างหือประดิษฐ์ของที่จะเอามาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์นั้น ๆ ขึ้นมา จริง ๆ ซึ่งในทางการทดลองเราอาจทำเพียงชุดต้นแบบก่อนก็ได้ การทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์จะเข้าใจกันว่า เพียงแต่สร้างอุปกรณ์ นั้น ๆ แล้วก็จัดเป็นโครงงานแล้ว หาใช่เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะการประดิษฐ์ชิ้นงานใด ต้องมีการทดสอบด้วยเสมอ ๆ ว่าผลของงาน นั้นสามารถทำงานหรือเป็นไปตาม วัตถุประสงค์หรือไม่ ต้องมีข้อมูลการทดลองยืนยันตามหลักทางวิทยาศาสตร์ว่าชิ้นงานที่ประดิษฐ์ ขึ้นมานั้นมีสมบัติให้ผลตามวัตถุประสงค์อย่างไร
���� ตัวอย่าง 1 ต้องการจะประดิษฐ์อิฐจากวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ฯลฯ เมื่อประดิษฐ์อิฐได้แล้ว ไม่ใช่ว่าเป็นโครงงานที่สมบูรณ์ แต่ยังต้องเอาอิฐที่ประดิษฐ์ได้แล้วนั้น ทำการทดลองเพื่อทดสอบว่า สัดส่วนแต่ละอย่างที่ใช้เป็นองค์ประกอบเป็นเท่าใด แล้วผล การทดลองแต่ละสัดส่วนนั้นเป็นอย่างไร ต้องแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการทดลองหลาย ครั้ง จนได้ข้อมูลที่ดีที่สุด นี่จึงจะถือเป็นการทำ โครงงานตามหลักทางวิทยาศาสตร์ ขอให้ถึงระมัดระวังหลักดังกล่าวนี้ด้วย
���� ตัวอย่าง 2 ต้องการประดิษฐ์สิ่งซึ่งเขามีทำกันอยู่ทั่วไปแล้ว หรือมีขายตามท้องตลาด ถ้าเราทำขึ้นมาแล้วเหมือนของเขา จะถือเป็นโครงงาน ได้ต่อเมื่อ สิ่งที่เราทำขึ้นใหม่นั้น เป็นการตอบคำถามอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ เช่น
����� 1. มีคุณภาพดีกว่าของทั่วไปอย่างไร�
������2. ประหยัดกว่าของทั่วไปอย่างไร
����� 3. ให้ประโยชน์ดีกว่าอย่างไร
����� 4. อื่น ๆ ที่ดีกว่าของที่มีอยู่แล้ว ในด้านใดด้านหนึ่งสักด้านก็ยังดี
����� ถ้าเปรียบเทียบแล้ว ของที่มีอยู่แล้วดีกว่าของที่เราทำขึ้นใหม่ ก็ถือว่าเป็นโครงงานที่ยังล้มเหลว เพราะยังไม่ช่วยพัฒนาของเดิม ๆ สำหรับสิ่งประดิษฐ์ที่นำมาเสนอในหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่ลักษณะโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ดี หากแต่เป็นเพียงตัวอย่างการทดลอง กล เกม หรือกิจกรรมเพื่อความเพลิดเพลิน และการสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เริ่มสนใจวิทยาศาสตร์ และเป็นก้าวหนึ่งสำหรับผู้ที่จะ ก้าวต่อ ๆ ไป ให้ได้ข้อคิด อาจจะนำหลักการที่นำเสนอไว้เป็นแบบอย่างคิดประยุกต์ ดัดแปลง หรือเกิดความคิดสร้างสรรค์ งานใหม่ ๆ เกิดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าอีกตามในที่สุด

การเขียนรายงานเพื่อนำเสนอ
���� บทที่ 1 บทนำ
���� - ที่มาและความสำคัญ (บอกถึงเหตุผลที่เลือกปัญหาเรื่องนั้น ๆ )
���� - จุดมุ่งหมายของการศึกษา (ควรชัดเจน แคบ ไม่ครอบจักรวาล)
���� - ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า (เป็นการกำหนดที่เราจะทำว่า มีปริมาณเพียงใด)
���� - สมมติฐานของการศึกษา (การคาดคิดผล ความน่าจะเป็นของผลที่จะศึกษา โดยอาศัยการ ทฤษฏีเป็นแนวทางในการคาดคะเน ซึ่ง อาจจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้)
���� - ข้อตกลงเบื้องต้นและศัพท์ที่ใช้ในการศึกษา (เป็นเงื่อนไขที่เรากำหนดเพื่อให้เข้าใจตรงกัน)�
���
���� บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
����� เป็นการอ้างอิงหรือกล่าวถึงข้อมูลซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังจะศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผลที่สนับสนุน เป็นทฤษฎี เป็นผลการทดลอง ที่ใกล้เคียงเกี่ยวข้องกับงานของเรา และที่จำเป็นต้องกล่าวอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น ๆ ด้วย�
�����บทที่ 3 วิธีการทดลอง ในบทนี้จะต้องแสดงวิธีการทดลองอย่างละเอียดว่า เรามีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร และขั้นตอนเหล่านั้น เราปฏิบัติอย่างไร โดยเขียนบรรยายถึงวิธีการทดลองหรือการสร้าง การประดิษฐ์ การสำรวจ (แล้วกรณี) อย่างชัดเจน โดยคำนึงว่าถ้าผู้มาอ่านเอกสารของเราแล้วสามารถนำวิธีการที่เราแนะนำไว้กลับไปทำซ้ำเช่นเดียวกัน แล้วจะต้องผลเหมือนกัน การบอกวิธีการทดลอง บอกทั้งวิธีการ ขั้นตอนและอุปกรณ์ อย่างละเอียด โดยมองถึงการปฏิบัติจริง

��� บทที่ 4 ผลการทดลอง (ผลการศึกษาค้นคว้า) ต้องแสดงผลการหรือการค้นคว้าจากบทที่ 3 ออกเป็นข้อมูลที่เหมาะสมทางวิทยาศาสตร์ เช่น เป็นตารางข้อมูล เป็นกราฟ เป็นภาพ โดยออกแบบให้สอดคล้องกับตัวแปรที่เกี่ยวข้อง แต่ละตารางข้อมูล ต้องมีการแปรผลข้อมูลไว้ด้วย�
���
��� บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการทดลอง เป็นการนำผลการทดลองจากบทที่ 4 มาอภิปราย พร้อมเหตุผลจากทฤษฎีเพื่อชี้ให้เห็นถึงผลการทดลองนั้น ๆ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไรพร้อมทั้งการเสนอแนะการนำผลการ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


krumod

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
การก่อสร้าง